ถาม ตอบ
 
ภาระงาน
หัวข้อประเมิน
คำถาม
คำตอบ
สอน




























 ข้อ 1 วิชาสอน
  - จำนวน LU การสอน
    รวมการเป็นที่ปรึกษา     วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
    ระดับบัณฑิตศึกษา(ต่อปี)
1. กรณีอาจารย์ซึ่งบรรจุเข้าใหม่ระหว่างภาคการศึกษา
   เช่น ไม่มีภาระงานสอน ไม่มีนักศึกษาในการดูแล
  ไม่มีนวัตกรรมการสอนคณะควรดำเนินการอย่างไร


ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะ




 
2. การประเมินวิชาที่สอนพิจารณาจากอะไร


การประเมินวิชาที่สอนระบบภาระงานฯจะเชื่อมโยง
ข้อมูลจากระบบ Load unit ภาระงานสอนทุกข้อ
มารายงาน
3. กรณีเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์จะนับผลงานอย่างไร


กรณีเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม จะได้ LU และ
นับภาระงานให้ตาม ข้อ 1 ภาระงานสอน กรณี
ีเป็นที่ปรึกษาหลัก จะนับ LU ตามข้อ 1 และข้อ 2
ข้อ 2 ที่ปรึกษาคุมวิทยานิพนธ์
(จำนวนนักศึกษาต่อปี)
2.1 ระดับปริญญาเอก
2.2 ระดับปริญญาโท
1. กรณีไม่มีนักศึกษาระดับปริญญาเอกจะมีวิธีเทียบเคึียงจำนวน
    นักศึกษาปริญญาตรี/โท อย่างไร








1. สามารถนำผลการประเมินจากจำนวน LUจากวิชา
     ที่สอน(ข้อ1) และนวัตกรรมการสอน (่ข้อ 3)
     นำผลคะแนนมาเฉลี่ยกันได้
2. กรณีรับเป็นที่ปรึกษาคุมวิทยานิพนธ์ นักศึกษา
    จำนวน 1 คน สามารถนับระยะเวลาตลอดหลักสูตร
    เช่น หลักสูตร 3 ปี ก็นับได้ทั้ง 3 ปี
3. กรณีคณะไม่มีหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
    ขอให้ คณะเร่งพัฒนาให้มีการเรียนการสอน
    ในระดับบัณฑิตศึกษา
2. นักศึกษาปริญญาเอก 1 คน อยู่ในหลักสูตร 3 ปี นับซ้ำ
   ในปีถัดไปได้หรือไม่

นักศึกษาปริญญาเอก 1 คน
อยู่ในหลักสูตร 3 ปี นับได้ทั้ง 3 ปี
ข้อ 3 นวัตกรรมการสอน




1. ขอทราบหลักเกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรมการสอน


สำหรับหลักเกณฑ์พิจารณาผลงานด้านนวัตกรรม
การสอนที่ประชุม ค.บ.ม. จะพิจารณารายละเอียด
ในเดือนตุลาคม 2559 และจะมีประกาศฯแจ้งให้
บุคลากรได้รับทราบต่อไป
2. การประเมินผลงานด้านนวัตกรรมการสอน
    พิจารณาจากฐานข้อมูลใด

จะแจ้งให้ทราบหลังการประชุม ค.บ.ม.
ในเดือนตุลาคม2559
  
วิจัยและ
ผลงาน
วิชาการ
อื่น ๆ








































 ข้อ 1 ทุนวิจัย
 1.1 จำนวนทุนวิจัย
      ภายในมหาวิทยาลัย
 1.2 จำนวนทุนวิจัยภายนอก
       มหาวิทยาลัย









1. ไม่ควรนับจำนวนทุนวิจัย แต่ควรพิจารณาจากสัดส่วน
     ความรับผิดชอบในโครงการวิจัยและจำนวนเงินของ
     โครงการที่ได้รับทุนวิจัย




ให้นับจำนวนทุนวิจัย และนับให้กับบุคลากรทุกคน
ที่ขอทุนวิจัยไม่นับจำนวนเงินที่ได้รับจัดสรรให้กับ
ทุนวิจัยเนื่องจากในหลายศาสตร์จำนวนเงินวิจัย
ไม่มากและไม่ได้ชี้วัดคุณภาพงาน การนับภาระ
ทุกท่านที่มีชื่อเป็นผู้ร่วมก็เป็นการส่งเสริมให้เกิด
การทำงานร่วมกันและเป็นระบบไว้เนื้อเชื่อใจ
เมื่อมีชื่อเป็นผู้ร่วมโครงการก็ควรทำงานอย่างเต็มที่

2. การรายงานผลทุนวิจัยจะทำอย่างไรให้สะดวกใน
การกรอกผลงาน

การรายงานผลระบบภาระงานจะเชื่อมโยงข้อมูล
จากระบบ PRPM ที่สำนักวิจัยและพัฒนา
ที่สำนักวิจัยและพัฒนาดูแลและรับผิดชอบ
3. ทุนของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
พิจารณาอย่างไรว่าเป็นทุนภายนอกมหาวิทยาลัย
หรือทุนภายในมหาวิทยาลัย

ทุนที่ได้รับจาก วช. โดยตรงจัดเป็นทุนภายนอก
มหาวิทยาลัยแต่ทุนงบประมาณแผ่นดินของ
มหาวิทยาลัยที่ วช.พิจารณาคุณภาพงานวิจัย
ถือว่าเป็นทุนภายในมหาวิทยาลัย
ข้อ 2 ผลงานวิชาการ(ต่อปี)
2.1 บทความวิจัย หรือ
2.1 อนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตรหรือ
2.3 การใช้ประโยชน์ หรือ
2.4 หนังสือ / ตำรา หรือ
2.5 งานสร้างสรรค์























1. กรณีมีการตีพิมพ์ผลงานวิชาการสามารถทดแทนกรณีไม่มีนักศึกษา
    ปริญญาเอก/โท เพื่อคุมวิทยานิพนธ์ได้หรือไม่




ไม่สามารถนำคะแนนผลการปฏิบัติงานไปทดแทนกัน
ได้ เนื่องจาก เป็นภาระงานคนละหัวข้อกัน
  - ผลงานวิชาการ อยู่ในภาระงานวิจัยและผลงาน
    วิชาการอื่น ๆ
  - การเป็นที่ปรึกษาคุมวิทยานิพนธ์นักศึกษา
    ปริญญาเอก/โท อยู่ในภาระงานสอน
2. กรณีทำข้อตกลงภาระงานกับผู้บังคับบัญชาไว้เพียง 1 รายการ และสิ้นรอบการประเมินสามารถทำผลงานวิชาการได้หลายรายการ
สามารถนำผลงานมารวมในการประเมินได้หรือไม่






ข้อตกลงภาระงานที่กำหนดโดยผู้บังคับบัญชาเป็น
ภาระงานขั้นต่ำซึ่งผู้บังคับบัญชา
(หัวหน้าสาขาวิชา/คณบดี) สามารถกำหนดเองได้
แต่ต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของมหาวิทยาลัย
อาจกำหนดเป็นเกณฑ์ของทั้่งหน่วยงาน หรือ
เกณฑ์ของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ ควรเป็นข้อตกลงที่
เห็นร่วมกัน เมื่อสิ้นรอบการประเมินสามารถ
ทำผลงานวิชาการได้เท่าไหร่ก็นับได้ทั้งหมด

3. กรณีสามารถทำผลงานวิชาการได้หลายรายการนอกเหนือข้อตกลง
สามารถนำผลงานมานับตอนสิ้นรอบการประเมินได้หรือไม่




ผลงานนอกเหนือจากรายการที่จะต้องทำข้อตกลงแม้
ไม่สามารถนำมาใช้ในการประเมินผลงานได้ แต่หาก
เป็นงานที่มีประโยชน์ก็ควรทำ หลักการที่ใช้ในระบบ
ใหม่จะเน้นเฉพาะการประเมินภาระงานหลัก ๆเท่านั้น
เพื่อหลีกเลี่ยงการทำภาระงานย่อย ๆ จำนวนมาก
แล้วมีผลมากกว่าภาระงานหลัก
4. บทความวิชาการสามารถนำมานับเป็นผลงานวิชาการได้หรือไม่

ให้นับเฉพาะบทความวิจัยเท่านั้น ไม่นับบทความ
วิชาการ
5. ทำไมจึงไม่ให้ความสำคัญกับอาจารย์ที่ตีพิมพ์ใน Proceedings
    ของ Conference





วัตถุประสงค์ของการไปร่วม Conference
เป็นการแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็น
เพื่อนำมาพัฒนางานวิจัยได้ เครือข่ายงาน
วิจัยควรนำข้อเสนอต่าง ๆ มาปรับปรุง
งานวิจัยให้ดีขึ้นและนำผลงานไปตีพิมพ์
ในวารสารต่อไป


บริการวิชาการ
ทำนุบำรุงศิลป
วัฒนธรรมและ
ภาระงานอื่น ๆ















1. ภาระงานอื่นที่
    คณะ/หน่วยงานกำหนด
     - จำนวน LU (ต่อปี) และ
2. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
    และกิจกรรมที่เป็นประโยชน์
    ต่อเพื่อนมนุษย์
    - จำนวน LU (ต่อปี) หรือ
3. การรักษาด้านการแพทย์
    - จำนวน LU (ต่อปี)
    เฉพาะคณะที่เกี่ยวข้อง หรือ
4. โครงการบริการวิชาการ
     ที่ลงทะเบียนกับ
     มหาวิทยาลัย/
     วิทยากร/กรรมการภายใน
     ภายนอกที่ไม่มี
     ค่าตอบแทน/
     การทำงานเชิงเครือข่าย
     กับหน่วยงานภายนอก
     - จำนวน LU (ต่อปี)
1. การประเมินผลงานบริการวิชาการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
    และภาระงานอื่น ๆ พิจารณาจากอะไร

















ผลงานบริการวิชาการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
และภาระงานอื่นๆ ระบบภาระฯจะดึงข้อมูลจากระบบ
Load unit (HR-MIS) หัวข้อภาระงานบริหารและอื่น ๆ
ทุกข้อยกเว้น 4.3 และ 4.6















     
 ข้อคำถามอื่น ๆ
ข้อที่
คำถาม
คำตอบ
1
มหาวิทยาลัยจะนำผลการประเมินของแต่ละคณะ
วิทยาเขต มาเปรียบเทียบผลการประเมินกันหรือไม่
ผลการประเมินอาจมีการนำมาเปรียบเทียบระหว่างหน่วยงาน
เพื่อการกำหนดนโยบายหรือแนวทางการพัฒนาในอนาคต
2
ใครเป็นผู้กำหนดสัดส่วนภาระงานของบุคลากร
เป็นการตกลงร่วมระหว่างบุคลากรและผู้บังคับบัญชา
3
หากบุคลากรไม่ใช้ระบบภาระงานที่มหาวิทยาลัยกำหนดจะเกิดผล
อย่างไรต่อบุคลากร
ในรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานนั้น บุคลากรจะเลื่อนเงินเดือน
หรือเพิ่มค่าจ้างได้ไม่เกินร้อยละ 2 ตามมติที่ประชุม ค.บ.ม.
ครั้งที่ 7/2559 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559
4
กรณีบุคลากรทำหน้าที่อาจารย์ผู้สอน และมีอายุงานใกล้จะครบ 5 ปี
คณะขอให้บุคลากรเลือกเน้นสอนหรือเน้นวิจัยได้หรือไม่
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะ
5
ผู้บริหารตำแหน่งต่าง ๆ ที่เป็นบุคลากรตำแหน่งวิชาการต้องเลือก Track
ในระบบภาระงานหรือไม่
บุคลากรตำแหน่งวิชาการทุกคนจะต้องทำหน้าที่ สอน วิจัย และ
บริการวิชาการแม้ดำรงตำแหน่งบริหารก็ต้องเลือก Track
ในระบบภาระเช่นกัน
6
หน่วยงานสามารถกำหนดภาระงานของบุคลากรโดยไม่เป็นไปตามภาระงาน
ขั้นต่ำที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้หรือไม่
หน่วยงานสามารถกำหนดภาระงานร่วมกับบุคลากรได้เพื่อการ
ดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานสำเร็จตามเป้าหมาย
ทั้งนี้จะต้องกำหนดไม่ต่ำกว่าภาระงานขั้นต่ำที่มหาวิทยาลัย
กำหนดไว้